แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร? Magnetic Contactor

 

แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร? Magnetic Contactor (PMK Talk x ABB)

1. แมกเนติกคอนแทคเตอร์ มีหน้าที่ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งสามารถสั่งการทำงานด้วยการจ่ายแรงดันไปที่ชุดสนามแม่เหล็กเพื่อตัดต่อวงจร โดยมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ

1.1 ชุดสร้างสนามแม่เหล็ก ที่ประกอบด้วย แกนเหล็กและขดลวด เป็นส่วนสั่งงานให้แมกเนติกทำงาน(ตัดหรือต่อวงจร)
1.2 ชุดหน้าสัมผัสหรือหน้าทองขาวทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังโหลด (Load)

2. การเลือกแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

2.1 พิจารณาจากแรงดัน(V) มีแรงดัน 2 ส่วน

2.1.1 แรงดันใช้งาน คือแรงดันส่วนหน้าสัมผัส จากคอนแทคเตอร์ไปโหลด (แรงดันมาตรฐานที่ใช้ในไทย380-415V)
2.1.2 แรงดันไฟเลี้ยง หรือแรงดันคอยล์(Voltage Coil) เป็นแรงดันที่ส่งไปที่ขดลวดให้คอนแทคเตอร์ทำงาน

2.2 พิจารณาจากกระแส(I)ใช้งาน กระแส(I)ใช้งานตามประเภทของโหลด โดยทั่วไปจะเป็น AC-1,AC-3

IEC_UtilizationCategory
รูปที่ 1 : ลักษณะกระแสของโหลดอ้างอิง IEC 60947-4-1

ลักษณะกระแสของโหลดแต่ละชนิดจะอ้างอิงจาก IEC 60947-4-1 (จากรูปที่ 1) สามารถแบ่งได้หลายประเภท โดยโหลดทั่วไปคือ AC-1 และ AC-3

Magnetic_AC
รูปที่ 2 : กระแสของโหลด AC ที่ Magnetic AF ใช้ได้ระบุ Pricelist

2.2.1 AC-1ใช้กับ Non-Inductive Load เช่น Heater
2.2.1 AC-3ใช้กับโหลดที่เป็นมอเตอร์

3. วิธีการอ่านรหัสรุ่น AF(ยกตัวอย่างรุ่น AF09-30-10-13)

ABBAFContactorReading
รูปที่ 3 : ความหมายของรหัสคอนแทคเตอร์รุ่น AF

3.1 AF คือ รุ่นที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์คอยล์

3.2 09 คือ ขนาดกระแสของหน้าคอนแทคหรือหน้าทองขาว

3.3 30 คือ เมนคอนแทค

30 = 3NO,0NC

3.4 10 คือ คอนแทคช่วย Auxiliary Contact

10 = 1 NO, 0 NC
01 = 0 NO, 1 NC
11 = 1 NO, 1 NC

3.5 13 คือ ไฟเลี้ยง(Operating Coil) สามารถจ่ายไฟเลี้ยงได้ (100-250VAC/DC) เป็นรุ่นที่มีสต็อค ส่วนรุ่นอื่นจะเป็นรุ่นสั่งนอก

11 = 24-60 VAC/20-60 VDC
12 = 48-130 VAC/DC
13 = 100-250 VAC/DC
14 = 250-500 VAC/DC

4. คุณสมบัติของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ABB รุ่น AF

AF ABB Voltage Range
รูปที่ 4 : ย่านแรงดันไฟเลี้ยง

4.1 เป็นคอนแทคเตอร์แบบอิเล็คทรอนิกส์คอยล์(Electronic Coil)ทำให้รับไฟเลี้ยงได้ทั้ง AC และDC ย่านแรงดันกว้าง 100-250 VAC/VDC

4.2 มี Surge Suppressor ในตัวป้องกันระบบคอนโทรลไม่ให้เสียหายที่เกิดจากพลังงานสะสมไหลย้อนกลับ

ABB Magnetic Size AF A
รูปที่ 5 : ขนาด Magnetic รุ่นใหม่ AF ที่ขนาดเล็กกว่ารุ่น A

4.3 มีขนาดเล็กลง เมื่อเทียบกับคอนแทคเตอร์รุ่นเก่าทำให้ประหยัดพื้นที่ในตู้

4.4 ประหยัดไฟมากขึ้น เพราะใช้หม้อแปลงขนาดเล็กลงทำให้กินไฟน้อยลง

5.ความแตกต่างของแมกเนติกคอนแทคเตอร์รุ่น AF และ UA

Contactor AF UA Compare
รูปที่ 5 : คอนแทคเตอร์ ABB รุ่น AF และรุ่น UA
AC1 AC3 AC6b Current
รูปที่ 6 : ลักษณะกระแสใช้งาน AC1, AC3 และ AC6b

แมกเนติกคอนแทคเตอร์ของ ABB รุ่น UA ผลิตมาเพื่อการใช้งานสำหรับการตัดต่อวงจร Capacitor Bank โดยเฉพาะ ซึ่งมีชุดหน้าสัมผัส(หน้าทองขาว) ผลิตด้วยวัสดุชนิดพิเศษ ที่รองรับกระแสในช่วงการตัดต่อของวงจร Capacitor Bank ที่มีกระแสสูงถึง 100 เท่า แต่รุ่น UA ซึ่งผลิตมาเพื่อใช้กับโหลดประเภท AC-1 กับ AC-3 ซึ่งมีกระแสสูงสุดที่ 6 เท่า เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรใช้คอนแทคเตอร์รุ่น AF แทนรุ่น UA สำหรับการตัดต่อวงจร Capacitor Bank ยกเว้นกับวงจร Capacitor Bank ขนาดใหญ่ที่มากกว่า 70KVAR

หากอ่านแล้วยังเกิดข้อสงสัยสามารถตามไปดู Video Youtube เกี่ยวกับ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ ได้ตามลิ้งข้างล่าง

Continue reading “แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร? Magnetic Contactor”

สายไฟประกอบด้วยอะไรบ้าง Cable Structure

 

สายไฟประกอบด้วยอะไรบ้าง Cable Structure (PMK Talk x Phelps Dodge Cable)

หน้าที่หลักของสายไฟฟ้าคือส่งผ่านกระแสจากจุดนึงไปอีกจุดนึง แต่สายไฟฟ้ามีหลายชนิดและหลายแบบ สิ่งที่แยกความแตกต่างของแต่ละชนิดคือ โครงสร้างของสาย, ลักษณะและวัสดุที่นำมาใช้ในโครงสร้างนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว สายไฟประกอบด้วยโครงสร้าง3ชั้นหลักๆ คือ ตัวนำ, ฉนวน และ เปลือก

โครงสร้างสายไฟ
รูปที่ 1 : โครงสร้างสายไฟ

1. โครงสร้างสายไฟประกอบด้วย

1.1 ตัวนำ ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังโหลด (Load)
1.2 ฉนวน ทำหน้าที่ป้องกันการลัดวงจร, อันตรายจากการสัมผัสกับตัวนำโดยตรง, ป้องกันไฟรั่ว และ ห่อหุ้มตัวนำไม่ให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาจากตัวนำ
1.3 เปลือกนอก ทำหน้าที่ป้องกันตัวนำและฉนวนจากการขูดขีดระหว่างการติดตั้ง และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น แสงแดด,ความชื้น และ สารเคมี

2. ประเภทของตัวนำ

ประเภทของตัวนำ

2.1 สายแข็ง แบ่งได้ 2ประเภท

2.1.1 เส้นเดี่ยว (Solid) class1 เป็นทองแดงเส้นเดียวหุ้มฉนวน
2.1.2 ตีเกลียว (Stranded) class2 ตัวนำแบบตีเกลียวมีลักษณะ เป็นทองแดงเส้นเล็กๆแล้วนำมาตีเกลียวเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถดัดโค้งงอได้ง่ายกว่าแบบเส้นเดี่ยว และ หักยากกว่าแบบเส้นเดี่ยว

2.2 สายอ่อน

2.2.1 สายฝอย(Flexible) class5 ใช้เส้นลวดทองแดงเส้นเล็กมากหลายเส้น นำมาบิดรวมเข้าด้วยกัน ลักษณะพิเศษคืออ่อนตัวโค้งง่าย ทนต่อแรงสั่นสะเทือน เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยหรือใช้ต่อกับมอเตอร์ที่มีแรงสั่นสะเทือนระหว่างการใช้งาน

3. วัสดุที่นิยมนำมาใช้กับ ตัวนำ, ฉนวน และ เปลือก ในสายไฟ

3.1 ตัวนำ(ทองแดง, อลูมิเนียม)

ตัวนำสายไฟทองแดงกับอลูมิเนียม

3.1.1 ทองแดง (Copper) นำไฟฟ้าได้ดี สามารถรีดเป็นขนาดเล็กได้ โค้งงอได้ง่ายกว่าอลูมิเนียม จึงนิยมใช้ภายในอาคารและติดตั้งใต้ดิน ที่หน้างานมีความแคบ และต้องทำการดัดและเดินสายไปตามแนวอาคาร
3.1.2 อลูมิเนียม (Aluminium) มีน้ำหนักเบา จึงนิยมติดตั้งแขวนลอยในอากาศ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการทำโครงสร้างรองรับน้ำหนักของสายไฟ แต่อลูมิเนียมไม่สามารถรีดเป็นขนาดเล็กได้ และดัดโค้งงอได้ไม่ดีเท่าทองแดง

3.2 ฉนวน (PVC, XLPE)

ตารางเปรียบเทียบของฉนวนXLPEกับPVC

3.2.1 PVC ทนอุณหภูมิ 70 องศา มีความอ่อนตัวดัดโค้งงอได้ง่าย และต้านทานการลุกไหม้ได้ดีกว่า XLPE
3.2.2 XLPE ทนอุณหภูมิได้ถึง 90 องศา มีค่าความต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า PVC มีความแข็งตัวมากดัดโค้งงอได้ยาก และลามไฟอย่างรวดเร็ว

3.3 เปลือก (PVC, PE, LSHF)

เปลือก (PVC, PE, LSHF)

3.3.1 PVC ต้านการลุกไหม้ได้ดีแต่ไม่เท่า LSHF และมีควันเป็นพิษ
3.2.2 PE มีความแข็งแรงสูงสุดป้องกันความชื้นได้ดีกว่า PVC และ LSHF และไม่มีแก๊สที่มีฤทธิ์เป็นกรด
3.2.3 LSHF (Low Smoke Halogen Free) ต้านทานการลุกลามไฟได้ดีที่สุด ควันน้อยและไม่มีแก๊สที่มีฤทธิ์เป็นกรด

4. ชั้นพิเศษที่นอกเหนือจาก ตัวนำ ฉนวน และเปลือก

ชั้น Armour และชั้น Shield ของสายไฟ

ชั้นของสายไฟขึ้นอยู่กับการใช้งาน และการติดตั้ง ผู้ใช้งานสามารถสั่งผลิตสายตามที่ต้องการได้
4.1 Armour เป็นเทปหรือลวดโลหะที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับสายไฟ เพิ่มเติมจากชั้นฉนวน
4.2 Shield เป็นเทปหรือลวดโลหะ ถ้ามีอยู่ในสายคอนโทรลจะทำหน้าที่ลดทอนสัญญาณรบกวน แต่ถ้าอยู่ในสายไฟฟ้ากำลังจะทำหน้าที่ป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ให้แผ่ออกมา
4.3 ปลอกตะกั่ว เป็นการหุ้มชั้นตะกั่วอยู่ภายในสายไฟฟ้าช่วยป้องกันความชื้น,ไอน้ำมันและสารเคมีที่กัดกร่อน นิยมใช้ในโรงกลั่นน้ำมัน หรือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

5. ความแตกต่างของโครงสร้างสายไฟ NYY และ IEC10

สาย IEC10 และ NYY มีทองแดงเป็นตัวนำ PVCเป็นทั้งฉนวนและเปลือกเหมือนกัน แต่ฉนวนและเปลือกของ NYY มีความหนามากกว่า จึงทำให้สาย NYY รับแรงดันได้สูงกว่า IEC10 และ สาย NYYสามารถร้อยท่อฝังดิน หรือฝั่งดินโดยตรงได้ ส่วนสายไฟ IEC10 รับแรงดันได้น้อยกว่า ความหนาของฉนวนและเปลือกบางกว่าสาย NYY ไม่สามารถร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรงได้

IEC10 NYY Compare Table

หากอ่านแล้วยังเกิดข้อสงสัยสามารถตามไปดู Video Youtube เกี่ยวกับ ส่วนประกอบของสายไฟคืออะไรบ้าง ได้ตามลิ้งข้างล่าง

Continue reading “สายไฟประกอบด้วยอะไรบ้าง Cable Structure”

CT วัดกระแส (Measuring Current Transformer) คืออะไร?

CT วัดกระแส (Measuring Current Transformer ) หม้อแปลงกระแสสำหรับเครื่องมือวัด

CTวัดกระแส

CT วัดกระแส (หม้อแปลงวัดกระแส) คือ อุปกรณ์ทำหน้าที่ลดกระแสที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ง่ายและปลอดภัยต่อการใช้งานในระบบไฟฟ้า ความแตกต่างระหว่างหม้อแปลงแรงดัน (Voltage Transformer) และหม้อแปลงวัดกระแส (CT, Current Transformer) คือ ขดลวดทางด้านปฐมภูมิ(Primary)ของCT จะมีเพียงรอบเดียว

CT Diagram

จากรูปด้านบนจะเห็นว่า ขดลวดทางด้านปฐมภูมิ (Primary) มีสายไฟหรือบัสบาร์ ผ่านแกนของ CT เพียงเส้นเดียว หมายความว่า CT วัดกระแส (หม้อแปลงวัดกระแส) หนึ่งตัวจะใช้งานได้ ต่อโหลดได้ 1 ตัวต่อเฟส ในส่วนของขดทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) จะมีจำนวนรอบของขดลวดมากกว่าด้านเข้า

แกนรูปโดนัทของหม้อแปลงวัดกระแส (CT) ทำมาจากเหล็กที่มีความสูญเสียต่ำ ซึ่งคุณภาพของวัสดุที่นำมาทำแกนของ CT มีความสำคัญมากเนื่องจากมันมีผลกระทบกับประสิทธิภาพและค่าความแม่นยำของตัว CT เองการทำงานของหม้อแปลงกระแสอาศัยหลักการลดกระแสทางด้านอินพุตและเอาต์พุตแบบสัดส่วน (Ratio)โดยการเอาสายตัวนำหรือบัสบาร์เป็นขดลวดทางด้านปฐมภูมิ เมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวนำจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นภายในแกนของ CT และมีกระแสไหลในขดลวดทุติยภูมิ

การเลือกใช้งาน หม้อแปลงกระแส (CT)

กระแสปฐมภูมิ (Primary) การเลือกต้องคำนึงถึงการใช้งานที่กระแสพิกัดของโหลด เช่น ในระบบต้องการใช้กระแส ที่ 250 แอมแปร์ ให้เลือกหม้อแปลงวัดกระแส (CT) ที่ 300 A เป็น 1.2 เท่าของ กระแสพิกัดของโหลดที่ใช้งานกระแสทุติยภูมิ เป็นค่าที่ถูกกำหนดขึ้นใช้งานเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ 1A และ 5A

ตัวอย่าง

กระแส ที่ 500A เลือกใช้ CT ขนาด 600/5 อัตราส่วน(Ratio) ของ CT คือ 120 ซึ่งหมายความว่า กระแสที่เพิ่มขึ้นทางด้านปฐมภูมิ 120 Amp จะมีกระแสที่ขดทุติยภูมิ (Secondary) 1A กล่าวคือ ถ้ากระแสด้านปฐมภูมิ 100 Amp ทำให้เกิดกระแสทางด้านขดทุติยภูมิ 0.83A

จากสูตร

CT_Formula

ค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย (Burden)

เป็นค่าความสามารถในการต่อกับโหลดทางด้านSecondary(ทุติยภูมิ) ของ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) โดยอุปกรณ์ที่จะมาต่อร่วมจะต้องมีค่าไม่เกิน ค่าBurden(กำลังไฟฟ้าสูญเสีย)ของ CT ค่าBurden(กำลังไฟฟ้าสูญเสีย)จะแสดงค่าเป็น VA (VOLT x AMP) เราสามารถหาค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย ของอุปกรณ์ที่จะนำมาต่อร่วมกับ CT ดังนี้

ตัวอย่าง CT รุ่น AS1A-250/5A – Class 0.5 5VA

CT รุ่น AS1A-250/5A – Class 0.5 5VA จากเสปคของ CT รุ่นนี้ (Download Crompton CT Spec) หมายความว่ามีค่า Burden เท่ากับ 5VA เราไม่สามารถต่ออุปกรณ์อื่นร่วมกับ CT เกิน 5 VA ซึ่งจะทำให้ CT ไม่อยู่ใน Class 0.5 เราสามารถคำนวณค่าBurden(กำลังไฟฟ้าสูญเสีย) โดยพิจารณาจากค่าสูญเสียของสายที่ต่อร่วมกับด้านSecondary(ทุติยภูมิ)ของ CT ดังแสดงในตารางด้านล่าง

ตัวอย่าง การคำนวณกำลังไฟฟ้าสูญเสีย(Burden)

อุปกรณ์ที่ต่อร่วมกับ CT ประกอบด้วย

  • – 252-SAR AC RMS Transducer = 2.5 VA
  • – E244-02A AC Ammeter = 0.5 VA
  • – 1.5 mm2 cable 2 meters long = 1.19 VA

CT_VABurdenCalculation
จากผลรวมของ Burden ของอุปกรณ์ที่ต่อร่วมกันทั้งหมดเท่ากับ 4.19VA เราสามารถใช้ CT รุ่น AS1A-250/5A – Class 0.5 5VA ได้เลย

ค่าความเที่ยงตรง (Accuracy Class)

ค่าความเทียงตรง หรือที่ระบุว่า Class ในสเปคของหม้อแปลงวัดกระแส (CT) จะมีผลกับการใช้งาน ซึ่งแต่ละการใช้งานจะเลือก CT ที่มีค่าความเที่ยงตรงไม่เท่ากัน เช่น ในงานที่ต้องตรวจวัดค่าพลังงานควรใช้ CT ที่มีค่าความเที่ยงตรงไม่เกิน 1% แต่ในงานที่วัดค่าเฉพาะกระแสไฟฟ้าอย่างเดียวสามารถใช้ CT ที่มีค่าความเที่ยงตรงไม่เกิน 3%

แรงดันไฟฟ้ากำหนดของระบบ(System Voltage rating)

แรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถใช้งาน CT สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • – แรงดันไฟฟ้าต่ำ ใช้ไม่เกิน 1000 V
  • – แรงดันไฟฟ้าขนาดกลาง 1.1 kV – 72.5 kV
  • – แรงดันแรงดันไฟฟ้าสูง 132 kV – 475 kV

บริษัท ภัทรเมธากิจ จำกัด จำหน่าย CT รุ่น AS-series สามารถใช้กับแรงดันต่ำมีขนาดไม่เกิน 720V

การเปลี่ยนอัตราส่วนของ CT

ถ้าหากเรามีหม้อแปลงวัดกระแส (CT) ที่มีขนาดกระแสทางด้านปฐมภูมิสูงกว่ากระแสใช้งาน เราสามารถเปลี่ยนอัตราส่วนของ CT ด้วยการ เพิ่มขดลวดของขดลวดปฐมภูมิ จากรูปภาพแสดงให้เห็นว่า เมื่อเราใช้ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) ขนาด 300/5 แต่ถ้าเราเพิ่มจำนวนรอบทางด้าน ปฐมภูมิ ของ CT จะทำให้ อัตราส่วนของ CT เปลี่ยนไป 150/5 , 100/5 ตามลำดับ สามารถใช้สมการอธิบายได้ดังนี้

  • ค่ากระแสด้านปฐมภูมิเก่า/ ค่ากระแสด้านปฐมภูมิที่ต้องการ. = จำนวนรอบทางด้านปฐมภูมิ
  • 300A/150A = 2 รอบ
  • 300A/100A = 3 รอบ

ขนาด (Dimension)

ขนาดของ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) สามารถดูได้จาก แคตตาล็อก เพื่อให้เราเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน และควรคำนึงถึงขนาดรูของ CT ในการเข้าสายไฟหรือบัสบาร์ (Busbar) ด้วย

การโอเวอร์โหลดและการอิ่มตัว(Saturation)

(Idyn) Dynamic Current & Thermal Current

ค่ากระแสที่ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) สามารถทนได้เป็นเวลา 1 นาทีโดยความร้อนที่เกิดจากการ Overload ไม่ส่งผลกระทบกับความเป็นฉนวนของขดลวด CT ตัวอย่างเช่น 250 oC

การทนกระแสโอเวอร์โหลด Overload Withstand

ค่าของกระแสที่ไหลต่อเนื่องผ่านขดลวดของ CT โดยที่ไม่เกิดความเสียหายต่อ CT โดยทั่วไปแล้วมีค่าเท่ากับ 1.2 เท่า ของพิกัด CT เช่น CT 300/5 A สามารถจ่ายกระแสต่อเนื่องโดยที่ CT ไม่เสียหาย คือ 300×1.2 = 360 A

    ตำแหน่งในการติดตั้ง

  • – ติดตั้งที่ผนังหรือในตู้
  • – ติดตั้งกับบัสบาร์หรือสายไฟ
  • – ติดตั้งกับราง Din Rail

ข้อควรระวัง(Safety)

ไม่ว่ากรณีใด ๆถ้าหากมีกระแสไหลทางด้านปฐมภูมิ ไม่ควรให้ขดลวดทางด้านทุติยภูมิของ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) เปิดวงจร เนื่องจากตอนปิดวงจร จะมีอิมพีแดนซ์ (Impedance) ประมาณ 0.2 ohm แรงดันประมาณ 1 Volt แต่ถ้า CT เปิดวงจรจะทำให้มีอิมพีแดนซ์เป็นอนันต์ (Infinity) เมื่อนำมาหาแรงดันเอาต์พุตที่กระแส 5A จะเกิดแรงดันสูงระดับ กิโลโวลต์ (kV) จนฉนวนละลายและทำให้ CT เสียหาย

การติดตั้ง (Installation)

ถ้าเราใช้ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) สำหรับวัดค่าพลังงาน จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องของการต่อและทิศทางการเข้าสาย การต่อสายไฟของการวัดการใช้พลังงาน ด้านปฐมภูมิต้องต่อสายไฟจากแหล่งจ่ายจากด้าน P1 ออก P2 แล้วออกไปหาโหลด ส่วนด้านทุติยภูมิต่อ S1 เข้ากับขั้วที่มีความเป็นบวกมากที่สุด S2ต่อเข้ากับขั้วลบ ของอุปกรณ์ที่นำมาต่อร่วม เช่น มิเตอร์, ทรานสดิวเซอร์ ตรวจสอบลำดับเฟสให้ถูกต้อง ถ้าหากลำดับเฟสผิดจะทำให้การวัดค่าพลังงานผิดพลาด และควรต่อขั้ว S2 ลงกราวด์ของระบบ

อ้างอิง

http://www.electronicshub.org/current-transformer/
http://www.crompton-instruments.com/downloads/2015/EPP-2044-0815_CTs.pdf
http://ieeexplore.ieee.org/search/searchresult.jsp?newsearch=true&queryText=Current%20Transformers
http://www.electronics-tutorials.ws/transformer/current-transformer.html

Download Spec CT ยี่ห้อ Crompton
สนใจสั่งซื้อ CT ราคา และสเปค CT Crompton

เบรกเกอร์กันดูด คืออะไร ?(RCD, RCBO, RCCB)

เบรกเกอร์กันดูด คือ (RCD : Residual – Current Device)

หน้าที่หลักของเบรกเกอร์กันดูด(RCD) คือ ป้องกันกระแสไฟรั่ว เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากไฟรั่ว(ไฟดูด) กับผู้ใช้งาน
หลักการทำงานของเบรกเกอร์กันดูด (RCD) คือ วัดกระแสไฟเข้าและออกว่าเท่ากันหรือไม่ หากไม่เท่ากัน ตามที่กำหนดไว้ในเสปคของอุปกรณ์ เบรกเกอร์กันดูด(RCD) ก็จะทำการตัดวงจร

ยกตัวอย่าง เช่น กันดูดรุ่น FH202-AC25/0.03 จากสเปคในรูป 1 ก็จะดูว่าไฟเข้าออกว่าต่างกันเกิน 30mA หรือไม่ ห่างต่างกันเกิน 30 mA ก็จะตัดวงจร (ดาว์นโหลดสเปค รุ่น fh200)

รูปที่ 1 สเปคเบรกเกอร์กันดูด RCCB รุ่น FH202-AC25/0.03

เบรกเกอร์กันดูด (RCD : Residual – Current Device) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

รูปทีี่ 2 RCB แบ่งเป็น RCCB และ RCBO
  • เบรกเกอร์กันดูด RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ทำหน้าที่ ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด มีการรับรองมาตรฐานจาก มอก. 2452-2552 กับ IEC 61008 ซึ่ง หลักการทำงานของ RCCB ยี่ห้อ ABB ส่วนใหญ่จะมีหลักการทำงานแบบ VI
  • เบรกเกอร์กันดูด RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Over Current Protection) ทำหน้าที่ ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ป้องกันกระแสเกิน(Overload) และกระแสลัดวงจร(Short circuit) มีการรับรองมาตรฐานจาก มอก. 909-2548 กับ IEC 61009 ซึ่ง RCBO ของABB ส่วนใหญ่จะมีหลักการทำงานแบบ VD

หลักการทำงานแบบ Voltage Independent (VI) และ Voltage Dependent (VD)

  • Voltage Independent (VI) มีหลักการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับVoltage หรือ คือ ไม่ต้องมีไฟเลี้ยงวงจรก็ยังสามารถใช้งานได้
  • Voltage Dependent (VD) มีหลักการทำงานโดยใช้กระแสไฟ คือ จะต้องมีไฟเลี้ยงวงจรอุปกรณ์จึงจะทำงาน

ข้อควรระวังของ VI และ VD คือ กรณีที่สายนิวตรอลเกิดหลุด หรือขาด เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCCB ที่มีหลักการทำงานแบบ VI จะยังสามารถทำหน้าที่ตัดวงจรได้ตามเดิม ส่วน เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCBO ที่ทำงานแบบ VD นั้น กรณีที่สายนิวตรอลเกิดหลุด หรือขาด เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCBO จะไม่สามารถทำงานได้

รูปที่ 3 ความแตกต่างระหว่าง RCCB กับ RCBO

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

Q1.ทำไมเบรกเกอร์กันดูดรุ่นมาตรฐานของ ABB จึงตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั้ว ที่ 30mA?

ตอบ การตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั่วที่ 30mA นั้นเพียงพอต่อการป้องกันชีวิตคน ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานของ IEC
ยกตัวอย่าง IEC แบ่งออกเป็น 4 โซน คือ

  • โซนที่ 1 โดนดูดไม่รู้สึก
  • โซนที่ 2 โดนดูดรู้สึกแต่ไม่อันตราย
  • โซนที่ 3 กล้ามเนื้อเกร็ง หายใจติดขัด
  • โซนที่ 4 หัวใจล้มเหลว

เบรกเกอร์กันดูดของ ABB ตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั่ว 30 mA ภายในเวลา 20-30 mS ซึ่งตามข้อกำหนดตามตารางของ IEC ในช่วงเวลา 20-30mS จะเกิดไฟรั่วที่ 30mA หรือ 150 mA จะยังปรากฎอยู่ในโซนที่ 2 ของตาราง ซึ่งยังเป็นโซนที่มีความปลอดภัยในการใช้งาน

รูปที่ 4 การตัดวงจรของ RCD มาตรฐานที่ 30mA

Q2. ABB มีเบรกเกอร์กันดูดที่มีการตัดไฟรั่ว ต่ำกว่า 30 mA ไหม ?

ตอบ มี แต่การตัดไฟจะsensitiveกว่า หากเกิดไฟรั่วเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เบรกเกอร์ทริป อาจจะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรำคาญเนื่องจากเบรกเกอร์กันดูดจะทริปบ่อย ซึ่งเบรกเกอร์กันดูดที่มีค่าการตัดวงจรต่ำกว่า 30mA ส่วนใหญ่จะใช้ใน โรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ สถานรับเลี้ยงคนชรา ซึ่งผู้ซื้อสามารถสั่งสินค้ากับตัวแทนจำหน่ายได้ แต่อาจจะต้องรอเวลาในการนำเข้าสินค้า

Q3.สามารถใช้เบรกเกอร์กันดูด RCBO แบบ 2 โพล รุ่น DS201 เป็นเมนเบรกเกอร์ แทนการใช้เมนเบรกเกอร์ 2โพลร่วมกับเบรกเกอร์กันดูด RCCB ได้หรือไม่?

ตอบ เบรกเกอร์กันดูด RCBO แบบ 2 โพล นั้นไม่สามารถใช้แทนเมนเบรกเกอร์ MCB แบบ 2 โพลที่ต่อร่วมกับเบรกเกอร์กันดูด RCCB ดูจากมาตรฐานการติดตั้ง ดังต่อไปนี้ ตามข้อกำหนดกล่าวว่า

  • เบรกเกอร์เมนหลังมิเตอร์จะต้องเป็น 2โพล คือ เบรกเกอร์เมนจะต้องมีการป้องกันกระแสไฟเกิน และกระแสไฟลัดวงจรทั้ง 2 โพล
  • ค่าการทนกระแสการลัดวงจร ต้องเท่ากับ 10 KA

เมื่อมาดูรายละเอียดของเบรกเกอร์กันดูด RCBO แบบ 2 โพล จะเห็นได้ว่าเป็นแบบ 1P+N ซึ่งจะมีการป้องกันกระแสไฟเกิน และกระแสไฟลัดวงจร เพียงแค่โพลเดียว ส่วนอีกโพลจะเป็นแค่เพียงสาย disconnector และค่าการทนกระแสลัดวงจรของกันดูด RCBO จะเท่ากับ 6 KA เท่านั้น จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นเมนเบรกเกอร์

ข้อเสนอแนะ หากต้องการติดตั้งเมนกันดูดคุมทั้งบ้านให้ใช้เบรกเกอร์เมน แบบ 2 โพล ขนาด 10 KA กับเบรกเกอร์กันดูด RCCB แบบ 2โพล ตามรูปที่ 5

  • ข้อเสีย ใช้พื้นที่ในการติดตั้งเยอะ
  • ข้อดี ทำให้แยกสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น หากเกิดกระแสลัดวงจร หรือโหลดเกินก็จะทริปเฉพาะเบรกเกอร์เมน แต่ถ้าเกิดไฟรั่ว ก็จะทริปแค่เบรกเกอร์กันดูดเท่านั้น เป็นต้น
รูปที่ 5 การต่อเบรกเกอร์กันดูด RCCB แบบคลุมทั้งบ้าน

หากอ่านแล้วยังเกิดข้อสงสัยสามารถตามไปดู Video Youtube เกี่ยวกับ เบรกเกอร์กันดูด RCD ได้ตามลิ้งข้างล่าง


LINK >> การต่อเบรกเกอร์กันดูด 1 เฟสในตู้คอมซูมเมอร์

EV Charger คืออะไร? (สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า)

EV Charger (สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า) คืออะไร?

EV Charger หรือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge

1. Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์

ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24 KWh และมี On Board Charger ขนาด 3KW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยุ่ที่ 8 ชั่วโมง

2. Quick Charge จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์

ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24kWh โดยใช้ตู้ EV Charger แบบ Quick Charge ที่มีกำลังชาร์จอยู่ที่ 50kW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง

การเลือกติดตั้ง EV Charger ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การติดตั้งอุปกรณ์ EV Charger ตามสถานที่ต่างๆ จะเลือกตามความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการชาร์จ ยกตัวอย่างเช่น บ้านพัก ควรติดตั้ง EV Charger แบบ AC ก็เพียงพอ ถึงจะใช้เวลาในการชาร์จนาน แต่เวลาที่เราใช้ภายในบ้านก็ค่อยข้างนานเช่นกัน หรือ ถ้าต้องการตั้งเป็นสถานี EV Charger ที่ต้องการความเร็วในการชาร์จ ก็สามารถเลือกเป็นการชาร์จแบบ DC ซึ่งมีระดับการชาร์จถึง 3 ระดับ คือ DC Wallbox , DC terra 54 และ DC Terra 360 ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยลงตามลำดับ

Download AC Wallbox Spec

Download DC Wallbox Spec

ประเภทของหัวชาร์จ

ในการเลือกซื้อ EV Charger บางรุ่น ผู้ซื้อต้องระบุ ประเภทของหัวจ่ายด้วย ซึ่งประเภทของหัวจ่ายนั้นขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และรุ่นของรถ EV ว่ารองรับมาตรฐานหัวชาร์จแบบไหน จากรูปจะเห็นมาตรฐานหัวชาร์จหลักๆในท้องตลาดโซนยุโรป(ณ ปี 2018) จะมีอยู่ 3 แบบหลักๆ คือ AC(Type1/Type2), DC Chademo และ DC CCS

ABB EV Charger รุ่น Terra DC Charging station 53 มีหัวจ่ายหลักๆให้เลือก 3 แบบ คือ AC Type2, DC Chademo และ DC CCS

สำหรับ EV Charger รุ่น EVLunic AC Wallbox นั้นจะมีให้เลือก แบบ Type2 AC Socket หรือแบบที่มีสายพร้อมหัวจ่าย Type2

หากอ่านแล้วยังเกิดข้อสงสัยสามารถตามไปดู Video Youtube เกี่ยวกับ EV Charger ได้ตามลิ้งข้างล่าง


หรือสนใจสินค้าสามารถติดต่อเราได้ ที่นี่ !!CLICK!!

เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร ประเภทต่างๆของเบรกเกอร์



Circuit Breaker(เบรกเกอร์)คืออะไร

เบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ โหลด Load (เช่น มอเตอร์, Generator หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า)

1 เบรกเกอร์สามารถแบ่งตามขนาดเป็น 3 ประเภท

1.1 MCB : Miniature Circuit Breaker (เบรกเกอร์ลูกย่อย) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 A ส่วนใหญ่ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ติดตั้งภายในตู้ Consumer หรือ ตู้ Load Center

1.2 MCCB : Moulded Case Circuit Breaker(โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1600 A

1.3 ACB : Air Circuit Breaker(แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6300 A

Breaker Category By Size
รูปที่ 1 : ประเภทของเบรกเกอร์ทั้ง 3 ประเภทตามขนาด
Continue reading “เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร ประเภทต่างๆของเบรกเกอร์”

วงจรกันดูด เดินสายไฟ/ติดตั้งกันดูด 1 เฟส Wiring Diagram RCD(RCCB,RCBO)

บทความนี้เป็นตัวอย่างของการติดตั้งกันดูด สำหรับไฟ 1 เฟส โดยมีทั้งหมด 3 วงจรหลักๆ แต่ละวงจรมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

1 วงจรการต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด ทำหน้าที่เป็นเมนสำหรับไฟ 1 เฟส (MCB + RCCB)

MCB RCCB Wiring Diagram วงจรกันดูด การเดินสายกันดูด 1 เฟส

ข้อดี

– ราคาถูกเนื่องจาก กันดูด(RCCB) 1 ตัว สามารถป้องกันไฟรั่วไฟดูดได้ทั้งบ้าน
– ลดความยุ่งยากในการแยกสายนิวตรอลภายในบ้าน
– เหมาะกับบ้านเก่าที่สายนิวตรอลต่อรวมกันหมด
– ง่ายในการเพิ่มกันดูด โดยต่อหลังจากเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ Continue reading “วงจรกันดูด เดินสายไฟ/ติดตั้งกันดูด 1 เฟส Wiring Diagram RCD(RCCB,RCBO)”

การเลือกขนาดเบรกเกอร์

ตารางการเลือกขนาดเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับมิเตอร์ขนาดต่างๆ

ตารางการเลือกเมนเซอร์กิตสำหรับมิเตอร์ขนาดต่างๆ
ตารางการเลือกขนาดเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับมิเตอร์ขนาดต่างๆ

ตารางแนะนำ การเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำน้ำอุ่น

ตารางแนะนำการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่น
ตารางแนะนำการเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่น

ตารางแนะนำ การเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย เพื่อใช้ควบคุม วงจรแสงสว่าง และ วงจรเต้ารับ

การเลือกขนาดเบรกเกอร์ ตารางแนะนำการเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยเพื่อใช้ควบคุม วงจรแสงสว่าง และ วงจรเต้ารับ
ตารางแนะนำการเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยเพื่อใช้ควบคุม วงจรแสงสว่าง และ วงจรเต้ารับ