แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร? Magnetic Contactor

 

แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร? Magnetic Contactor (PMK Talk x ABB)

1. แมกเนติกคอนแทคเตอร์ มีหน้าที่ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งสามารถสั่งการทำงานด้วยการจ่ายแรงดันไปที่ชุดสนามแม่เหล็กเพื่อตัดต่อวงจร โดยมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ

1.1 ชุดสร้างสนามแม่เหล็ก ที่ประกอบด้วย แกนเหล็กและขดลวด เป็นส่วนสั่งงานให้แมกเนติกทำงาน(ตัดหรือต่อวงจร)
1.2 ชุดหน้าสัมผัสหรือหน้าทองขาวทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังโหลด (Load)

2. การเลือกแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

2.1 พิจารณาจากแรงดัน(V) มีแรงดัน 2 ส่วน

2.1.1 แรงดันใช้งาน คือแรงดันส่วนหน้าสัมผัส จากคอนแทคเตอร์ไปโหลด (แรงดันมาตรฐานที่ใช้ในไทย380-415V)
2.1.2 แรงดันไฟเลี้ยง หรือแรงดันคอยล์(Voltage Coil) เป็นแรงดันที่ส่งไปที่ขดลวดให้คอนแทคเตอร์ทำงาน

2.2 พิจารณาจากกระแส(I)ใช้งาน กระแส(I)ใช้งานตามประเภทของโหลด โดยทั่วไปจะเป็น AC-1,AC-3

IEC_UtilizationCategory
รูปที่ 1 : ลักษณะกระแสของโหลดอ้างอิง IEC 60947-4-1

ลักษณะกระแสของโหลดแต่ละชนิดจะอ้างอิงจาก IEC 60947-4-1 (จากรูปที่ 1) สามารถแบ่งได้หลายประเภท โดยโหลดทั่วไปคือ AC-1 และ AC-3

Magnetic_AC
รูปที่ 2 : กระแสของโหลด AC ที่ Magnetic AF ใช้ได้ระบุ Pricelist

2.2.1 AC-1ใช้กับ Non-Inductive Load เช่น Heater
2.2.1 AC-3ใช้กับโหลดที่เป็นมอเตอร์

3. วิธีการอ่านรหัสรุ่น AF(ยกตัวอย่างรุ่น AF09-30-10-13)

ABBAFContactorReading
รูปที่ 3 : ความหมายของรหัสคอนแทคเตอร์รุ่น AF

3.1 AF คือ รุ่นที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์คอยล์

3.2 09 คือ ขนาดกระแสของหน้าคอนแทคหรือหน้าทองขาว

3.3 30 คือ เมนคอนแทค

30 = 3NO,0NC

3.4 10 คือ คอนแทคช่วย Auxiliary Contact

10 = 1 NO, 0 NC
01 = 0 NO, 1 NC
11 = 1 NO, 1 NC

3.5 13 คือ ไฟเลี้ยง(Operating Coil) สามารถจ่ายไฟเลี้ยงได้ (100-250VAC/DC) เป็นรุ่นที่มีสต็อค ส่วนรุ่นอื่นจะเป็นรุ่นสั่งนอก

11 = 24-60 VAC/20-60 VDC
12 = 48-130 VAC/DC
13 = 100-250 VAC/DC
14 = 250-500 VAC/DC

4. คุณสมบัติของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ABB รุ่น AF

AF ABB Voltage Range
รูปที่ 4 : ย่านแรงดันไฟเลี้ยง

4.1 เป็นคอนแทคเตอร์แบบอิเล็คทรอนิกส์คอยล์(Electronic Coil)ทำให้รับไฟเลี้ยงได้ทั้ง AC และDC ย่านแรงดันกว้าง 100-250 VAC/VDC

4.2 มี Surge Suppressor ในตัวป้องกันระบบคอนโทรลไม่ให้เสียหายที่เกิดจากพลังงานสะสมไหลย้อนกลับ

ABB Magnetic Size AF A
รูปที่ 5 : ขนาด Magnetic รุ่นใหม่ AF ที่ขนาดเล็กกว่ารุ่น A

4.3 มีขนาดเล็กลง เมื่อเทียบกับคอนแทคเตอร์รุ่นเก่าทำให้ประหยัดพื้นที่ในตู้

4.4 ประหยัดไฟมากขึ้น เพราะใช้หม้อแปลงขนาดเล็กลงทำให้กินไฟน้อยลง

5.ความแตกต่างของแมกเนติกคอนแทคเตอร์รุ่น AF และ UA

Contactor AF UA Compare
รูปที่ 5 : คอนแทคเตอร์ ABB รุ่น AF และรุ่น UA
AC1 AC3 AC6b Current
รูปที่ 6 : ลักษณะกระแสใช้งาน AC1, AC3 และ AC6b

แมกเนติกคอนแทคเตอร์ของ ABB รุ่น UA ผลิตมาเพื่อการใช้งานสำหรับการตัดต่อวงจร Capacitor Bank โดยเฉพาะ ซึ่งมีชุดหน้าสัมผัส(หน้าทองขาว) ผลิตด้วยวัสดุชนิดพิเศษ ที่รองรับกระแสในช่วงการตัดต่อของวงจร Capacitor Bank ที่มีกระแสสูงถึง 100 เท่า แต่รุ่น UA ซึ่งผลิตมาเพื่อใช้กับโหลดประเภท AC-1 กับ AC-3 ซึ่งมีกระแสสูงสุดที่ 6 เท่า เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรใช้คอนแทคเตอร์รุ่น AF แทนรุ่น UA สำหรับการตัดต่อวงจร Capacitor Bank ยกเว้นกับวงจร Capacitor Bank ขนาดใหญ่ที่มากกว่า 70KVAR

หากอ่านแล้วยังเกิดข้อสงสัยสามารถตามไปดู Video Youtube เกี่ยวกับ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ ได้ตามลิ้งข้างล่าง

 

Product สินค้า แมคเนติกคอนแทคเตอร์ Magnetic Contactor รุ่นAF ยี่ห้อABB

Download สเปค แมคเนติก คอนแทคเตอร์ Magnetic Contactor รุ่นAF ยี่ห้อABB